หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บางระจัน Bangrajun

ตำนานประวัติศาสตร์ของ วีรชนบ้านบางระจัน ที่สละเลือดเสียเนื้อและเสียชีวิตเพื่อชาติ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายก่อนที่ไทยจะเสียกรุงครั้งที่ ๒ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
โดยเนเมียวสีหบดี แม่ทัพของพม่าได้ยกทัพเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
ได้สั่งให้ทหารพม่าออกปล้นทรัพย์สินเงินทองและเสบียงอาหารจากชาวบ้านคนไทย ซึ่งหญิงสาวชาวบ้านถูกทหารพม่าข่มเหงรังแก
คนไทยเดือดร้อนและเจ็บแค้นมากจึงชักชวนชาวบ้านให้ต่อสู้กับพม่า
มีหัวหน้าคนไทยหกคน คือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายดอก นายทองแก้ว
ได้ออกอุบายหลอกลวงพม่าไปฆ่าตายหลายครั้ง

จากนั้นก็พากันหลบหนีไปหาพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่วัดเขาบางนางบวช เมืองสุพรรณบุรี
ท่านพระอาจารย์โชติได้แจกผ้าประเจียดลงยันต์คาถาอาคมแก่ชายฉกรรจ์เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
มีชาวบ้านที่กล้าหาญติดตามมาอยู่ด้วยประมาณ ๔๐๐ คน
โดยมีบุคคลสำคัญที่เป็นหัวหน้าเพิ่มขึ้นอีกห้าคน คือ
ขุนสรรค์ นายจันทร์หนวดเขี้ยว นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่และพันเรือง
ช่วยกันตั้งค่ายบางระจันขึ้นต่อสู้และขัดขวางการรุกรานของพม่า
รวมแล้วพม่าส่งทหารเข้ามาปราบถึง ๗ ครั้ง จนกระทั่งครั้งที่ ๘ จึงสามารถเอาชนะได้



พม่าเข้าตีบ้านบางระจันแตกเมื่อเดือน ๘ พ.ศ. ๒๓๐๙ รวมเวลาต่อสู้กับพม่านานถึงห้าเดือน
ชาวบ้านบางระจันทุกคนปักหลักต่อสู้อย่างองอาจกล้าหาญจนตัวตาย
พวกเขาอุทิศชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยให้คงอยู่
วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันยังคงตราตรึงอยู่ในใจของคนไทยตราบนานเท่านาน
เพื่อระลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ความกล้าหาญ และรักชาติของชาวบ้านบางระจัน
ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจันขึ้น
บนเนินสูงหน้าค่ายบางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์สืบต่อไป...

.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น